วชช.ตราด

อว.เตรียมสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ผลักดัน วชช.ตราด

นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวิทยาลัยชุมชนตราด (วชช.ตราด)

โดยมีดร.กรรณิการ์ สุภาภา ผู้อำนวยการ วชช.ตราด และคณะให้การต้อนรับ ทั้งนี้จากการเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงานของวชช.ประมาณ 5-6 วิทยาลัย พบว่าวชช.ส่วนใหญ่จะมีศักยภาพ และมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งอาจารย์รุ่นใหม่สามารถทำงานวิจัยได้ทุกคน และงานวิจัยส่วนใหญ่จะมีความเชื่อมโยงกับชุมชน ดังนั้น หากส่วนกลางได้เข้าไปสนับสนุน ประสานความร่วมมือ หรือสร้างเครือข่ายระหว่าง วชช. กับส่วนกลาง หรือมหาวิทยาลัย เชื่อว่าจะทำให้วชช.และชุมชนมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น

“หลังจากที่ได้ลงไปเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงาน การจัดการเรียนการสอนของวชช.ในแต่ละจังหวัดได้มีประสานไปยังนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยในอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง เพื่อต่อยอดหรือร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน หรือเสริมการทำงานของวชช.ให้มีความยั่งยืนมากขึ้น โดยขณะนี้มีนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยได้ลงไปในพื้นที่วชช.สมุทรสาคร ซึ่งมีการทำเกลือ แต่ขาดการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้ไปต่อยอดแล้ว หรือที่วชช.ตราด ซึ่งมีผลไม้สมุนไพร มีเกษตรอินทรีย์ มีการแปรรูปพืชผลทางการเกษตรจำนวนมากแต่ขาดการเชื่อมโยงหรือขอรับรองมาตรฐานอย.ก็จะประสานในเรื่องนี้ให้” นายสัมพันธ์ กล่าว

โดยนอกจากนั้น จะมีการจัดทำฐานข้อมูล ประสานความร่วมมือระหว่างวชช.กับมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นเครือข่ายร่วมกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ

ซึ่งวชช.มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ รวมทั้งจะมีการพัฒนายกระดับคุณภาพของคณาจารย์ บุคลากรวิทยาลัยชุมชน และการเทียบโอนต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาของวชช.สามารถต่อยอดได้มากขึ้น ในส่วนของโครงสร้าง ข้อจำกัด กฎระเบียบ ข้อบังคับ ทางอว.จะพยายามนำเสนอไปยังสภาวิทยาลัยชุมชน ซึ่งเป็นผู้ดูแลทั้งหมด เพราะหลายๆ เรื่อง อว.ได้มีการออกนโยบายแล้ว แต่อาจจะอยู่ในกระบวนการขับเคลื่อน จึงยังไปไม่ถึงเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้จะมีการผลักดัน จัดทำข้อมูล เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เห็นถึงองค์ความรู้ หรืองานวิจัยในวชช. อันจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันระหว่าง วชช. ซึ่งเข้าใจบริบท ทำงานกับชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ กับมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนร่วมกัน

วชช.ตราด

“วชช.ตราด ได้ก่อตั้งมากกว่า 20 ปี ซึ่งถือเป็นวชช.นำร่องที่มีการรวบรวมความรู้ ถอดบทเรียนจากชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะมหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่มีวิทยาเขตจันทรบุรี และเป็นสถาบันการศึกษาของอว.ส่วนหน้า มีบทบาทมากมาย รวมทั้งการขับเคลื่อนโครงการ U2T ที่เห็นผลชัดเจนในพื้นที่วชช.ตราด”ที่ปรึกษารมว.อว. กล่าว

ดร.กรรณิการ์ กล่าวว่าสำหรับกิจกรรมของวชช.ตราด แบ่งการทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ

1.การจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญา ประกาศนียบัตร สัมฤทธิ์บัตร และหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ หรือหลักสูตรที่ชุมชนจ.ตราดต้องการ

2. บริการวิชาการ ทั้งในส่วนของการสร้างความรู้แก่ชุมชน ซึ่งเป็นจุดยืนของวชช.ตราดและชุมชน รวมทั้งต้องรองรับพัฒนาตามยุทธศาสตร์จ.ตราดที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการท่องเที่ยว การแปรรูปเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย การค้าชายแดน การดูแลผู้สูงอายุผู้พิการต่างๆ

3.การทำนุบำรุงศิลปะ เราทำโดยการสืบสารอนุรักษ์ เรื่องการจักสาน อาหาร และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยถอดความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านมาสู่คนรุ่นหลัง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

4.มิติของอุดมศึกษา คือ การทำวิจัยเชิงชุมชน รูปแบบการวิจัยทำให้ได้ปัญหา ความต้องการ รูปแบบการพัฒนา โดยนำงานวิจัยมาเติมเต็ม

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ vitro4u.com

แทงบอล

Releated